โทร ไป อเมริกา: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
Table of Contents
ตัวอย่าง การกรอกแบบฟอร์ม วีซ่าอเมริกา ออนไลน์
(DS-160) อย่างละเอียด
ในการขอวีซ่าอเมริกา สิ่งที่ผู้ยื่นขอวีซ่าทุกคนต้องทำ คือ กรอกฟอร์ม
DS-160
เพื่อ
submit
เข้าไปในระบบ ก่อนที่จะได้รหัสเพื่อนำไปจ่ายค่าธรรมเนียม เมื่อจ่ายค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว ในระบบจึงจะขึ้นให้เราเข้าไปทำนัดหมายเพื่อสัมภาษณ์อีกที
การกรอก DS-160 นั้นมีความสำคัญมาก ถ้าเรากรอกรายละเอียดครบถ้วน ถูกต้อง เหตุผลชัดเจน จะช่วยในตอนสัมภาษณ์ได้มาก ยิ่งเจ้าหน้าที่อ่านแล้วได้ข้อมูลครบ อาจจะถามแค่ไม่กี่คำ แล้วให้วีซ่าได้เลย ดังนั้นทุกคนที่ยื่นขอวีซ่าอเมริกาควรทำตรงนี้ให้ดีที่สุด
วีซ่าอเมริกา ประเภทที่มีคนยื่นขอมากที่สุด จะเป็นวีซ่าธุรกิจและท่องเที่ยว
BUSINESS & TOURISM (TEMPORARY VISITOR) (B1/B2)
หรือส่วนใหญ่เราก็จะเรียกกันง่ายๆว่า วีซ่าท่องเที่ยว นั่นแหละ
ตรงนี้ถามว่าถ้าแบบนั้นขอเป็น
B2
อย่างเดียว ซึ่งเป็น
TOURISM
ไม่ต้องขอ
B1
ที่เป็นส่วนของ
BUSINESS
จะดีกว่ามั้ย ส่วนตัวผมมองว่าไม่ได้มีผลมากนะครับ และถ้าเป็นผมขอเอง ผมก็จะขอควบไปเลย เผื่อได้วีซ่ายาวๆ ครั้งนี้ไปเที่ยว ครั้งหน้าอาจจะไปเรื่องงานก็ได้ เงื่อนไขของวีซ่าจะได้ครอบคลุมทั้งหมด
ว่ากันมายาวละ เริ่มกันเลยดีกว่า
การจะเข้าไปกรอก
DS-160 (online)
นั้น จะต้องเข้าไปที่ลิ้งค์
พอเข้าไปแล้วก็จะเจอเว็บไซต์หน้าตาแบบนี้
สิ่งที่เราต้องทำ คือ เลือก
Location
ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งถ้าเรายื่นในเมืองไทย จะมีให้เลือกคือ
BANGKOK
กับ
CHIANG MAI
นะครับ
[1]
จากนั้นใส่
Code
ตามที่เห็น
[2]
และเราสามารถเช็คได้ตั้งแต่ขั้นตอนนี้เลยว่า ไฟล์รูปที่เราเตรียมมาเพื่ออัพโหลดนั้นใช้ได้หรือไม่ จะอยู่ตรง
Test Photo
ตรงกลาง
[3]
แล้วเราก็เลือกครับว่าจะทำอะไร ถ้าเรายังไม่ได้เริ่มกรอกอะไรเลย เราก็เลือก
START AN APPLICATION
[4]หากเรากรอกค้างไว้ แล้ว
save
และ
download
มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เราอยากจะกรอกต่อ ก็เลือก
UPLOAD AN APPLICATION
[5]และหากจด
application ID
ไว้ เราก็สามารถกรอกต่อจากที่เราเคยกรอกไว้เดิม ได้ด้วยการเลือก
RETRIEVE AN APPLICATION
[6]พอเราเข้ามาแล้ว ในหน้าถัดไป เราก็จะเจอเลข
application ID
ตรงนี้สามารถจดไว้ หรือเซฟไว้ในคอมฯ เพื่อใช้ในการเปิดใบสมัครเดิมที่เรากรอกค้างไว้ เผื่อกรอกไปแล้วมีปัญหา เช่น กรอกๆอยู่เน็ตหลุด คอมแฮ้งค์ จะได้ไม่ต้องเริ่มกรอกใหม่ทั้งหมด ดังนั้นแนะนำให้จดไว้ครับ
[1]
จากนั้นก็ต้องตอบคำถาม
security question
ก็เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัยของข้อมูลเราเองนี่แหละ เผื่อคนอื่นได้
application ID
ได้หน้าพาสปอร์ตเราไป จะเข้ามาแก้ไขข้อมูล แต่ก็จะมีโอกาสถูกกันไว้ด้วยคำถามนี้อีกที
(
ตรงนี้ไม่ค่อยเป็นปัญหาของคนทั่วไปอย่างเราๆ แต่ก็อธิบายเผื่อไว้นะครับ
)
[2]จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการกรอกข้อมูลของเราซึ่งเป็นผู้ที่ยื่นขอวีซ่า
Surnames –
นามสกุล
[1]Given Names –
ชื่อ
[2]Full Name in Native Alphabet –
ชื่อในภาษาของเรา ในกรณีนี้ก็เป็นภาษาไทย แต่ก็จะเห็นว่าด้านล่างของช่องนี้ มีที่ให้ติ๊ก
Does Not Apply/Technology Not Available
อยู่ ในกรณีที่เราไม่สามารถกรอกชื่อเราในภาษาของเราได้ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
[3]
คำถามต่อมาเป็นคำถามเกี่ยวกับชื่อ หากเราเคยใช้ชื่ออื่น ก็ต้องตอบ
Yes
หากไม่เคย ก็ตอบ
No
[1]ส่วนคำถามเกี่ยวกับ
telecode
ตรงนี้เท่าที่ผมทราบ อักษรไทย ไม่มี
telecode
นะครับ ก็ตอบ
No
ได้เลย
[2]
ถัดมาเลย เป็นคำถามเกี่ยวกับ เพศของผู้ยื่นขอวีซ่า
[1]
,
สถานภาพ
(
โสด
,
สมรส
,
หย่าร้าง
,
ฯลฯ
)
[2],
วัน เดือน ปีเกิด
[3]
,
สถานที่เกิด
[4]
ยังอยู่ในส่วนของข้อมูลผู้ยื่นขอวีซ่า
สัญชาติ ก็เลือกไปตามจริง
[1]
ส่วนคำถามถัดมา คือ เรามีสัญชาติอื่นนอกจากที่เราเลือกไว้หรือไม่ บางคนถือสองสัญชาติอะไร ก็ต้องแจ้ง ส่วนคนที่ถือสัญชาติเดียวก็ตอบ
No
[2]หรือ เรามีสถานะเป็นผู้มีถิ่นอาศัยถาวร
(Permanent Resident)
ของประเทศไหนด้วยหรือไม่ เช่น บางคนอาจจะถือ
PR
ของออสเตรเลีย ตรงนี้ก็กรอกไป หากไม่มีก็ตอบ
No
[3]National Identification Number
คือ เลขประจำตัวประชาชน เราก็กรอกของไทยได้เลย
[4]
ส่วน
U.S. Social Security Number
[5]กับ
U.S. Taxpayer ID Number
[6]ใครมีก็กรอก
ใครไม่มีก็ติ๊กช่อง
Does Not Apply
จากนั้นเป็น
Address
หรือ ที่อยู่ เราก็กรอก Home Address ที่อยู่ในบัตรประชาชนของเราไปให้ครบครับ
[1]
ถัดมาจะมีคำถามว่าที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสาร
(Mailing Address)
ของเราตรงกับที่อยู่ที่เรากรอกไว้ข้างบนมั้ย ถ้าตรงเราก็ตอบ
Yes
แต่หากไม่ตรง ตอบ
No
แล้วก็ต้องกรอก
Mailing Address
เพิ่ม
[2]
ถัดมาอีกก็กรอกเบอร์โทรศัพท์
[1]
หากมีหลายเบอร์ หรือมีเบอร์ที่ทำงานด้วย ก็กรอกไปได้หมด
แล้วก็
Email Address
[2]จากนั้นก็เป็นส่วนของข้อมูลหนังสือเดินทาง
(Passport Information)
ช่องแรก ประเภทของหนังสือเดินทาง สำหรับหนังสือเดินทางไทย สีเลือดหมู แบบที่ส่วนใหญ่มีกันคือ แบบ
REGULAR
[1]ส่วนแบบอื่นอาจจะมีหนังสือเดินทางราชการ หนังสือเดินทางทูต อันนั้นก็เลือกเอา
ช่องต่อมา หมายเลขหนังสือเดินทาง
[2]
และต่อมา
Passport Book Number
คือ หมายเลขเล่มหนังสือเดินทาง เข้าใจว่าสำหรับหนังสือเดินทางไทย เลขที่อยู่บนเล่ม จะเป็นเลขเดียวกับหมายเลขหนังสือเดินทาง ดังนั้นเราไม่ต้องกรอกก็ได้นะครับ ติ๊กช่อง
Does Not Apply
ได้เลย
[3]
ต่อมา หนังสือเดินทางเป็นของประเทศไหน ก็เลือก ในที่นี้ก็เลือก
THAILAND
ครับ
[4]
ในกรอบเล็กเป็นสถานที่ที่ออกหนังสือเดินทาง จริงๆใส่เฉพาะ
City
กับ
Country
ก็ได้นะครับ แต่ถึงใส่เกินไป คือ ครบทั้ง
3
ช่องเลย ก็ไม่ได้มีผลอะไรกับการพิจารณาวีซ่า
[5]
สุดท้ายในส่วนของหนังสือเดินทาง คือ วันออกหนังสือ
[1]
และวันหมดอายุ
[2]
และปิดด้วยคำถามว่า คุณเคยทำหนังสือเดินทางหาย หรือถูกขโมยหรือไม่ ถ้าไม่เคย ก็ติ๊กช่อง
No
[3]ส่วนถัดมา เป็นเรื่องของรายละเอียดการเดินทาง (Travel Information)
อันแรกเลยคือ วัตถุประสงค์ของการเดินทาง ถ้าเราต้องการจะไปท่องเที่ยว หรือทำธุระส่วนตัวของเรา
Purpose of Trip to the U.S.
คือ
TEMP. BUSINESS PLEASURE VISITOR (B)
[1]ลงรายละเอียด
คือ
เป็น
BUSINESS & TOURISM (TEMPORARY VISITOR) (B1/B2)
[2]ข้อต่อมา ถ้าคุณมีกำหนดการณ์ที่ชัดเจนมากๆอยู่แล้ว คุณตอบ
Yes
[1]คุณจะต้องกรอกข้อมูล วันที่คุณจะเข้าประเทศ
[2]
เที่ยวบินขาเข้า
(
ถ้ารู้
)
[3]เมืองที่คุณจะเดินทางเข้า
[4]
รวมถึงวันที่คุณจะเดินทางออก
[5]
เที่ยวบินขาออก
(
ถ้ารู้
)
[6]เมืองที่คุณจะเดินทางออก
[7]
และก็สถานที่ที่คุณจะไปในประเทศอเมริกา
[8]
ส่วนนี้ถ้าคุณไปหลายที่หลายเมือง มีปุ๋ม
+ Add Another
และ ปุ่ม
– Remove
เผื่อคุณต้องการเพิ่มรายละเอียดให้ชัดที่สุด
แต่ข้อนี้ หากคุณตอบ
No
[1]ก็จะใส่ข้อมูลการเดินทางน้อยลงมาก เหลือแค่วันที่คาดว่าจะไปถึง
[2]
และระยะเวลาที่เราจะอยู่ในประเทศอเมริกา
[3]
ต่อจากข้อมูลการเดินทาง ก็ขณะจะเป็นข้อมูลของที่พักที่เราอยู่ในประเทศอเมริกา
[1]
ต้องมีที่อยู่ หรือ
Address
ชัดเจน กรณีนี้ ถ้าเราพักบ้านญาติ คนรู้จัก แฟน เราสามารถใส่ที่อยู่ของเค้าได้เลย หากเราพักโรงแรม เราก็ใส่
Address
ของโรงแรมได้
กรณีที่พักหลายที่ ส่วนใหญ่ก็ดูเป็นกรณีไป บางทีผมก็ใส่ที่พักที่แรก ในเมืองที่เราเดินทางเข้า หรือบางทีหากเราพักทั้งบ้านญาติ ทั้งโรงแรม ผมก็จะใส่ที่อยู่บ้านญาติ อันนี้ดูเป็นกรณีๆไป ไม่มีกฎตายตัว แต่ต้องเลือกมาใส่ซักทีหนึ่ง
ในช่องต่อมา เป็นการระบุผู้ที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในทริปนี้
[2]
ถ้าเป็นตัวเอง ก็ใส่
SELF
ส่วนกรณีที่มีผุ้อื่นออกเงินให้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล
,
บริษัทต้นสังกัดในไทย
,
บริษัทที่อเมริกา ก็เลือกไปตามจริง
ต่อมาเป็นข้อมูลของผู้ที่เดินทางพร้อมกับเรา
(Travel Companions Information)
ถ้าเรามีคนเดินทางพร้อมกับเราด้วย ตอบ
Yes
[1]หากไม่มีใครเดินทางพร้อมเรา เราเดินทางคนเดียว ตอบ
No
เราเดินทางเป็นกรุ๊ป หรือเดินทางมาในรูปแบบองค์กรใดหรือไม่ ถ้าไม่ เราก็ตอบ
No
[2]จากนั้นเราก็ต้องกรอก ชื่อ
–
นามสกุล ของคนที่เดินทางพร้อมเรา
[3]
รวมถึงความสัมพันธ์ของของเรากับคนที่เดินทางด้วยกัน
[4]
เป็นสามี
–
ภรรยา เป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง ก็ระบุไปตามจริงครับ
ถัดมาจะเป็นเรื่องประวัติการเดินทางมาประเทศสหรัฐอเมริกาของเรา
(Previous U.S. Travel Information)
ถ้าเราไม่เคยมาเลย ก็ตอบ
No
แต่ถ้าเคยมาแล้วก็ตอบ
Yes
[1]และต้องระบุรายละเอียดการเดินทางทุกครั้ง มีปุ่ม
+
แล
–
ให้คลิ๊กเพิ่มลดจำนวน การกรอกข้อมูลตรงนี้
[2]
ถ้าคนที่เคยไปอเมริกาครั้งสองครั้ง ก็กรอกไม่ยาก แต่หากใครเคยไปมาแล้วเป็นสิบๆครั้ง ก็จะลำบากหน่อย ถ้าถามว่าจำไม่ได้ หรือกรอกไม่ครบเป็นอะไรมั้ย ตรงนี้ขึ้นอยู่กับประวัติของเราเอง ถ้าเราไม่เคยทำอะไรผิดเลยทุกครั้งที่ไป อันนี้ไม่น่าจะมีปัญหาครับ เจ้าหน้าที่เข้าใจอยู่แล้ว เพียงแต่ถ้ากรอกได้ทั้งหมดก็ดี
คำถามต่อมาคือ เรามี หรือเคยมีใบขับขี่ของประเทศสหรัฐอเมริกา
(U.S. Driver’s license)
หรือไม่ ถ้ามีก็ตอบ
Yes
และระบุข้อมูลใบขับขี่ของเรา หากไม่มีก็ตอบ
No
[3]จากนั้นจะเจอ คำถามว่าเราเคยมีวีซ่าอเมริกา หรือไม่ ถ้าไม่ก็ตอบ
No
[1]แต่ถ้าเคยมีก็ตอบ
Yes
และต้องให้รายละเอียดของวีซ่าตัวสุดท้ายที่เราเคยมี
วีซ่านั้นออกเมื่อไหร่
[2]
หมายเลขวีซ่า
[3]
อันนี้ถ้าไม่รู้ หรือจำไม่ได้ สามารถติ๊ก
Do Not Know
สมัครวีซ่าประเภทเดิมใช่หรือไม่
[4]
ถ้าคราวก่อนเรามีวีซ่า
B1/B2
แล้วคราวนี้สมัครเหมือนเดิม ก็ตอบ
Yes
ครั้งนี้ สมัครจากประเทศที่เคยออกวีซ่าให้เรา หรือประเทศที่เราอยู่อาศัยใช่หรือไม่
[5]
เคยเก็บลายนิ้วมือ
(
ตอนขอวีซ่าอเมริกา
)
ทั้ง
10
นิ้วรึยัง
[6]
วีซ่าที่เราได้รับ เคยหาย หรือถูกขโมยหรือไม่
[7]
เคยถูกยกเลิก หรือถอนวีซ่าอเมริกาหรือไม่
[8]
คำถามต่อมา คือ คุณเคยโดนปฏิเสธวีซ่าอเมริกา หรือ เคยโดนปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศอเมริกา หรือ เคยโดนยกคำร้องขอวีซ่าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือไม่ ถ้าไม่ก็ตอบ
[1]
***
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโดนยกคำร้อง น่าจะเป็นบางประเทศที่ขอวีซ่าเข้าอเมริกา
on arrival
ได้ ก็คือ ไปกรอกฟอร์มกันตรงด่าน ตม
.
เลย แต่ประเทศไทยไม่ใช่แบบนั้น ต้องขอวีซ่าไปก่อนนะครับ
***
ถ้ดมา เคยมีใครทำเรื่องวีซ่าถาวรของอเมริกาให้เรามั้ย ถ้าไม่มีก็ตอบ
No
[2]จากนั้นเราต้องใส่ข้อมูลการติดต่อตัวเราในอเมริกา ซึ่งตรงนี้จะเป็น บุคคล หรือ องค์กร ก็ได้ แต่ต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง กรณีเป็นบุคคล เราก็ใส่ นามสกุล
–
ชื่อ ของบุคคลนั้น
[1]
กรณีเป็นองค์กร เราก็ใส่ชื่อองค์กร
[2]
แล้วก็ใส่ความสัมพันธ์ เป็นญาติ หรือเป็นอะไรกับเราก็ใส่ไป
[3]
นอกจากชื่อและความสัมพันธ์แล้ว เราต้องให้ ที่อยู่
[1]
,
เบอร์โทร
[2]
,
และอีเมล
[3]
ด้วย สำหรับอีเมล หากไม่รู้ สามารถติ๊กช่อง
Does Not Know
ได้
ต่อมา ข้อมูลครอบครัว
เริ่มด้วย ของพ่อ
นามสกุล
[1]
,
ชื่อ
[2]
,
วัน เดือน ปี เกิด
[3]
ส่วนคำถามสุดท้าย คือ พ่อของเราอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ตอบ
No
[4]ต่อด้วยข้อมูลของแม่
(
เหมือนกันกับของพ่อ
)
นามสกุล
[1]
,
ชื่อ
[2]
,
วัน เดือน ปี เกิด
[3]
ส่วนคำถามสุดท้าย คือ แม่ของเราอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ตอบ
No
[4]ข้อต่อมา หากเรามีญาติใกล้ชิดที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา
[1]
ถ้าไม่มีก็ตอบ
No
แต่ถ้ามี ข้อนี้ต้องตอบ
Yes
และกรอกข้อมูล
นามสกุล
–
ชื่อ
[2]
,
ความสัมพันธ์
[3]
,
สถานะของคนคนนี้ในประเทศอเมริกา
[4]
คือ จะถือวีซ่าชั่วคราว ถือกรีนการ์ด หรือเป็น
U.S. citizen
ก็เลือกตอบตามความจริง
***
ญาติใกล้ชิดในที่นี้ คือ คู่หมั้น
,
คู่ครอง
(
สามี
–
ภรรยา
),
บุตร
,
หรือ พี่
–
น้อง เท่านั้นนะครับ ถ้าเป็นลูกพี่ลูกน้อง เป็นลุงป้าน้าอา แบบนี้ไม่ว่าในชีวิตจริงจะใกล้ชิดสนิทสนมแค่ไหน ก็ไม่ต้องใส่ไปนะครับ
***
ข้อมูลครอบครัวต่อ เป็นส่วนของข้อมูลคู่ครอง หรือคู่สมรส
นามสกุล
–
ชื่อ
[1]
,
วัน เดือน ปี เกิด
[2]
,
สัญชาติ
[3]
,
เมืองที่เกิด
[4]
,
ประเทศที่เกิด
[5]
ที่อยู่ หากเป็นที่อยู่เดียวกับเรา ก็เลือกได้เลย
[6]
แต่หากเป็นคนละที่ก็ต้องกรอกข้อมูล
*** สำหรับข้อมูลส่วนนี้จะไม่มีให้กรอก หากเราระบุสถานะโสด
(single)
ตั้งแต่แรก
***
ต่อไปเป็นส่วนของ ข้อมูลการทำงาน
/
การศึกษา
(
ตรงนี้แนะนำให้กรอกให้ละเอียดที่สุดนะครับ เพราะเป็นส่วนที่สำคัญในการพิจารณาวีซ่า
)
ข้อมูลอาชีพหลัก
(Primary Occupation)
[1]หากใครที่มีหลายอาชีพ ผมแนะนำว่าเอาอาชีพที่เราใช้เวลากับมันมากที่สุดก่อน ถ้าหากใช้เวลาพอๆกัน ก็เลือกอาชีพที่สร้างรายได้หลักให้กับเรา
กรอกชื่อนายจ้าง หรือหากเรากำลังศึกษาอยู่
(
ระบุอาชีพเป็นนักเรียนนักศึกษา
)
[2]จากนั้นกรอกที่อยู่
,
เบอร์โทร ให้เรียบร้อย
[3]
ต่อมาให้หน้าเดิม ระบุวันที่เริ่มงาน
[1]
รายได้ต่อเดือน
(
ในหน่วยเงินของเรา
)
[2]และอธิบายรายละเอียดงานของเรา ตรงนี้ผมแนะนำให้เขียนให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ทำได้
[3]
หากงานนี้ไม่ใช่งานแรกของเรา ก็ตอบ
Yes
[1]เราสามารถกรอกข้อมูลงานที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ได้ด้วย
ใส่ชื่อที่ทำงานเก่า
[2]
และที่อยู่ เบอร์โทรให้ละเอียด
[3]
ในหัวข้อเดิม ต้องใส่ชื่อตำแหน่งงานนั้นของเรา
[1]
ใส่ นามสกุล
–
ชื่อ ของหัวหน้า
[2]
ใส่ วัน เดือน ปี ที่เริ่ม
[3]
และ วัน เดือน ปี ที่ทำงานวันสุดท้าย
[4]
รวมถึงเขียนอธิบายรายละเอียดของงานนี้เช่นกัน
[5]
ข้อต่อมา หากเราเคยเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป ก็ตอบ
Yes
[1]แล้วเราก็ต้องกรอกข้อมูลสถานศึกษา
(
สูงสูด
)
ของเราด้วย
ชื่อ
–
ที่อยู่ของสถาบัน
[2]
หลักสูตรที่เราเรียน
[3]
วันที่เข้าเรียน
[4]
วันสุดท้ายของการเรียน
[5]
ส่วนต่อมา เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การทำงาน
/
การศึกษา
เราเป็นชนกลุ่มน้อย หรือ ชนเผ่าไหนหรือไม่ ถ้าใช่ก็ตอบ
Yes
แล้วใส่ข้อมูล ถ้าไม่ เราก็ตอบ
No
[1]เราพูดภาษาใดได้บ้าง ที่แน่ๆ เราต้องใส่ภาษาแม่ หรือภาษาหลักของเรา
[2]
ส่วนใครที่พูดได้มากกว่าหนึ่งภาษา ก็สามารถกด
+ Add Another
เข้าไปได้
[3]
ถัดมา หากเราเคยเดินทางไปประเทศไหน ในช่วง
5
ปีหลัง เราก็ตอบ
Yes
[1]แล้วใส่รายละเอียดประเทศที่เราไปมา
[2]
หากไม่ได้ไปไหนเลย ก็ตอบ
No
ส่วนข้อต่อนี้ส่วนใหญ่ตอบ
No
ผมขออธิบายแค่คร่าวๆนะครับ
เราเคยอยู่ หรือทำงาน ในองค์กร เพื่อสังคม หรือไม่
No
[3]เรามีความสามารถพิเศษ พวกทำระเบิด ทำนิวเคลียร์ หรืออาวุธเคมี หรือไม่
No
[4]เราเคยรับราชการทหารหรือไม่
No
[5]เราเคยอยู่ในกลุ่มกบฎใดๆ หรือไม่
No
[6]***
ขออธิบายเพิ่มตรงนี้ว่า ชายไทยที่เกณฑ์ทหาร สามารถตอบ
Yes
แล้วเขียนอธิบายได้นะครับ แต่ที่ผ่านๆมาหลายคนก็ตอบ
No
ไปเพราะถือว่าไม่ได้เป็นทหารไปรบ หรือ เป็นแค่ทหารเกณฑ์ ไม่ได้รับผิดชอบในหน่วยงานทหารใดๆ ถือว่าไม่ได้มีผลต่อการพิจารณาวีซ่า ส่วนคนที่เรียน รด
.,
จับได้ใบดำ
,
หรือไม่ได้เกณฑ์ด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม อันนี้ตอบ
No
ชัดเจน
***
ส่วนต่อมา จะเป็นคำถาม เกี่ยวกับความมั่นคง และประวัติที่ผ่านมา
จะเป็นคำถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพ คดีความ การกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในการขอวีซ่าแทบทุกประเทศนะครับ เหมือนเป็นหลักสากล ที่เค้าต้องถาม เผื่อมีการเช็คย้อนหลัง เราจะไม่สามารถอ้างได้ว่าเราไม่เคยถูกถามคำถามพวกนี้
กรณีที่ใครมีปัญหาจริงๆ ควรตอบตามจริง และเขียนอธิบาย เพราะหลายเรื่องเป็นเรื่องร้ายแรง หากไม่กรอกไป แล้วเจ้าหน้าที่มารู้ทีหลัง จะกลายเป็นเราที่ให้ข้อมูลเท็จ
แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ไม่เคยมีปัญหาอะไร ก็ตอบ
No
ให้หมดนะครับ
ข้อแรก คุณเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือไม่
[1]
ถ้าใครเคยเป็น ก็ลองดูชื่อโรคเอานะครับ ว่าโรคที่เราเป็นอยู่ในลิสต์นี้รึเปล่า
คุณมีปัญหาด้านสมอง หรือร่างกาย ที่จะส่งผลต่อตัวเองและผู้อื่นหรือไม่
[2]
คุณเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดหรือไม่
[3]
ส่วนต่อมาเป็นส่วนของคดีความ ผมอธิบายคร่าวๆ ส่วนใหญ่ก็ตอบ
No
นะครับ
เคยต้องคดีอาญาใดๆหรือไม่
[1]
เคยฝ่าฝืนการโดนบังคับคดีหรือไม่
[2]
มาเพื่อค้าประเวณีในอเมริกา หรือเคยเกี่ยวข้อง หรือไม่
[3]
เคยมีส่วนกับการฟอกเงินหรือไม่
[4]
ต่อจากส่วนที่แล้ว อันนี้จะเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ ก็ตอบ
No
นะครับ
เคยเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์หรือไม่
[1]
เคยมีส่วนร่วมรู้เห็นกับการค้ามนุษย์หรือไม่
[2]
คู่ครอง หรือ บุคร เคยเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์หรือไม่
[3]
ถัดมา จะเป็นคำถามเกี่ยวกับการก่อการร้าย ก็ตอบ
No
เช่นกัน
คุณจะเข้ามาเพื่อหาจารกรรมหรือไม่
[1]
คุณจะหาโอกาสเข้าร่วม หรือเคยร่วมการก่อการร้ายหรือไม่
[2]
คุณเคยเจตนาให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้ายหรือไม่
[3]
คุณเป็นสมาชิกองค์กรก่อการร้ายหรือไม่
[4]
ยังเป็นคำถามที่ต้องดอบ
No
เหมือนเดิมนะครับ
เคยเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์หรือไม่
[1]
เคยเกี่ยวข้องกับการทรมานมนุษย์หรือไม่
[2]
เคยเกี่ยวข้องกับการสั่งการ จ้างวานฆ่า หรือไม่
[3]
เคยเกี่ยวข้องกับการใช้งานทหารเด็กหรือไม่
[4]
ยังเป็นคำถามยากๆที่ตอบ
No
เหมือนเดิม
เคยทำงานที่เกี่ยวกับการคุกคามเสรีภาพทางศาสนาหรือไม่
[1]
เคยเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำแท้งผิดกฎหมายหรือไม่
[2]
เคยเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อขายอวัยวะหรือเซลล์ของมนุษย์หรือไม่
[3]
ต่อมา คุณเกี่ยวข้องหรือได้รับความช่วยเหลือให้ได้วีซ่าเพื่อเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการปลอมแปลง หรือทำผิดกฎหมายหรือไม่ ตอบ
No
[1]3
ข้อสุดท้าย ก็ยังตอบ
No
นะครับ
เคยถือสิทธิ์ปกครองเด็กที่ถือสัญชาติอเมริกาที่อยู่นอกประเทศหรือไม่
[1]
เคยลงคะแนนสนับสนุนอะไรก็ตามที่แย้งกันกับกฎหมายสหรัฐฯหรือไม่
[2]
เคยสละสัญชาติอเมริกาเพื่อเลี่ยงภาษีหรือไม่
[3]
จบคำถามทั้งหมดแล้วนะครับ ก่อนที่จะไปในส่วนของการอัพโหลดรูป บางคนอาจจะสังเกต แต่บางคนอาจจะไม่ได้สังเกต เพราะกรอกเพลินๆ คือในส่วนซ้ายมือ ที่ผมเอากรอบสีเขียวครอบไว้ คือ ข้อมูลทั้งหมดที่เรากรอกมา ซึ่งเราสามารถคลิ๊กย้อนกลับไปดูได้
กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็จะเข้าในส่วนของการอัพโหลดรูป สามารถคลิ๊กด้านล่าง
[1]
ได้เลย
ส่วนด้านบนเป็นเหมือนหัวข้อ เราอยู่หัวข้อไหน แถบด้านบนก็จะแสดงสถานะ
การอัพโหลดรูป กรณีที่รูปของเราไม่ได้มาตรฐาน เราสามารถเข้าไปทำการตัดได้
[1]
หากพร้อมแล้วต้องการอัพโหลด ก็มาคลิ๊กเลือกไฟล์
[2]
แล็วก็กดอัพโหลดไฟล์ที่เราเลือก
[3]
เมื่อไฟล์รูปที่อัพไปใช้ได้ ภาพผ่านมาตรฐาน ก็จะขึ้นเป็นรูปที่เราอัพ
(
ในนี้ผมใช้กราฟฟิกมาปิดไว้เฉยๆนะครับ
)
ก็คลิ๊กใช้รูปนี้ แล้วไปต่อได้เลย
[1]
จากนั้นระบบจะให้เรายืนยันรูปอีกครั้งนะครับ ถ้าเราจะเปลี่ยนใจใช้รูปอื่น ก็เลือกเปลี่ยนรูปได้
[1]
แต่ถ้าเราไม่เปลี่ยน ก็คลิ๊ก
Next
ด้านล่าง เพื่อไปส่วนของการ
Review
ได้เลย
ในส่วนของการรีวิว ก็คือการเช็คข้อมูลที่เรากรอกไปทั้งหมดนะครับ
ควรเช็คดูอีกรอบ ว่าเรามีการกรอกอะไรผิดรึเปล่า โดยเฉพาะ ชื่อ วันเดือนปีเกิด หมายเลขพาสปอร์ต
ซึ่งตรงนี้สามารถกดปุ่ม
Edit
เพื่อย้อนกลับไปแก้ไขได้นะครับ
(ตรงนี้สามารถเลื่อนข้ามไปเร็วๆได้ครับ ใกล้เสร็จแล้ว)
ตรงนี้เป็นส่วนของสถานที่ยื่นวีซ่าของเรา ต้องดูให้ดีนะครับ ย้ำอีกทีว่าประเทศไทยจะเลือกได้
2
ที่ คือ
BANGKOK
กับ
CHIANG MAI
ขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นการ
Sign and Submit
หรือ การเซ็นยืนยัน และ ยื่นแบบฟอร์ม ซึ่งกรณีนี้จะเป็นการเซ็นแบบอิเล็กทรอนิก หรือ
E-Sign
และ การยื่นออนไลน์ หรือ
Online Submission
ซึ่งระบบก็จะมีรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ให้เราอ่านและยอมรับก่อน เช่น ให้เรายืนยันว่าเราให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง หรือให้เรายอมรับผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ อะไรประมาณนี้ ก็ต้องยอมรับไป
ก่อนจะยอมรับ จะมีคำถามอีกนิดนึง ว่ามีใครช่วยเราในการกรอกแบบฟอร์มรึเปล่า ถ้าไม่มีก็ตอบ
No
[1]จากนั้นใส่หมายเลขหนังสือเดินทาง
[2]
แล้วก็ใส่
Code
ตามที่เห็น
[3]
แล้วก็คลิ๊กด้านล่าง เป็นอันเสร็จขั้นตอนการกรอกข้อมูล
หลังจากนี้ ระบบจะขึ้นหน้า
Confirmation
เพื่อยืนยันว่าเราได้ทำการยื่นใบสมัครออนไลน์แล้ว เราสามารถปริ๊นท์ตัวเอกสารต่างๆออกมาเก็บไว้ได้เลย แต่ต้องระวังด้วยนะครับ เพราะเอกสารบางตัวจะระบุว่าห้ามนำไปในวันสัมภาษณ์
สำหรับการกรอกใบสมัคร วีซ่าอเมริกา หรือ
DS-160
ก็คงจะมีเท่านี้ก่อนนะครับ
ขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมวีซ่า และขั้นตอนการทำนัดสัมภาษณ์ จะขอมาอธิบายต่อในคราวหน้าครับผม
สุดท้ายนี้หวังว่า ตัวอย่าง การกรอกแบบฟอร์ม วีซ่าอเมริกา ออนไลน์
(DS-160)
อันนี้จะมีประโยชน์กับคนที่กำลังจะยื่นขอ วีซ่าอเมริกา ไม่มากก็น้อยนะครับ
ขอบคุณครับ
#วีซ่า #วีซ่าอเมริกา #แบบฟอร์ม #ds160 #form #visa #usvisa #usa
[NEW] Check List การส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกา | โทร ไป อเมริกา – Uptechitalia
สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่คนไทยไปอาศัย ทำงานหรือศึกษาต่อมากที่สุด ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกาจำนวนมาก ยิ่งในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดทำให้การซื้อของที่ห้างฯ หรือซุเปอร์มาร์เก็ตไม่สะดวกอีกต่อไป ประกอบกับคนอเมริกันนิยมช้อปปิ้งทางออนไลน์เป็นปกติอยู่แล้ว ทำให้มีมูลค่าการซื้อขายออนไลน์กว่า 709.78 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดิม 18% การซื้อขายสินค้าจำพวกอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มที่เติบโตเร็ว และมียอดซื้อพุ่งก่อนจะเกิดการแพร่ระบาดของโควิดด้วย ทั้งหมดนี้ ทำให้ภาพรวมการส่งของไปอเมริกาโดยเฉพาะอาหารแห้งและอาหารแปรรูปนั้นคึกคักมาก
DHL Express จึงทำการรวบรวม Check List การส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกา มองหาช่องทางสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริม หรือจะส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปให้เพื่อนๆ ครอบครัวในอเมริกาได้เหมือนกัน
เคล็ดลับการส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปสหรัฐอเมริกาให้ราบรื่น
ข้อแรกที่ต้องรู้คือ อาหารสด ไม่สามารถนำส่งไปต่างประเทศผ่านเครือข่ายการขนส่งด่วนทางอากาศของ DHL Express ได้ เพราะถือเป็น Perishable goods ซึ่งอาจเน่าเสียในระหว่างขนส่ง ส่วนอาหารแห้งและอาหารแปรรูปสามารถส่งไปอเมริกาได้ และต้องไม่ใช่อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น ไส้กรอก แฮม หรือ หมูแผ่น เป็นต้น ยกเว้น ปลาและสัตว์ทะเล
การนำเข้าอาหารประเภทปลาหรือผลิตภัณฑ์ปลาของสหรัฐอเมริกา
อาหารประเภทปลา หรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากเนื้อปลา สามารถส่งไปยังอเมริกาได้ ยกเว้น ปลา Siluriformes คือ อันดับปลาหนัง หรือตระกูลปลาหนัง เป็นปลากระดูกแข็ง ปลาประเภทนี้มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ตัวอย่างวงศ์ที่สำคัญและพบในประเทศไทยและไม่สามารถส่งไปอเมริกาได้ ได้แก่
• วงศ์ปลาขยุย (Akysidae) เช่น ปลาขยุย
• วงศ์ปลาดัก (Amblycipitidae) เช่น ปลาดัก
• วงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) เช่น ปลาริวกิว, ปลาอุก
• วงศ์ปลากด (Bagridae) เช่น ปลาแขยง ปลากด ปลามังกง
• วงศ์ปลากะแมะ (Chacidae) เช่น ปลากะแมะ
• วงศ์ปลาดุก (Clariidae) เช่น ปลาดุกด้าน ปลาดุกอุย
• วงศ์ปลาแค้ขี้หมู (Erethistidae) เช่น ปลาแค้ขี้หมู
• วงศ์ปลาจืด (Heteropneustidae) เช่น ปลาจืด
• วงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) เช่น ปลาค้างคาว, ปลายะคุย
• วงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae) เช่น ปลาดุกทะเล ปลาปิ่นแก้ว
• วงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) เช่น ปลาสังกะวาด ปลาเผาะ ปลาโมง ปลาบึก ปลาเทโพ ปลาเทพา
• วงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) เช่น ปลาสังกะวาด ปลายอนทอง ปลายอนโล่
• วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เช่น ปลาก้างพระร่วง ปลาเบี้ยว ปลาสายยู ปลาปีกไก่ ปลาชะโอน ปลาค้าว
การส่งอาหารแห้ง หรืออาหารแปรรูป ไปอเมริกา แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Non-Homemade Product และ 2. Homemade Product
1. การส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปแบบ Non-Homemade Product ไปอเมริกา
สำหรับ “Non-Homemade Product” หมายถึง อาหารแปรรูป หรืออาหารแห้ง ที่ผลิตจากโรงงาน และจัดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป เช่น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันฝรั่งทอด ฯลฯ เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในการบริโภคและเหมาะกับการส่งออกเพราะ โดยทั่วไปจะมีบรรจุภัณฑ์มิดชิด ผ่านการรับรองด้านอาหารจากหน่วยงานในท้องถิ่น เก็บได้นาน ข้อควรรู้ในการการขนส่งอาหารประเภท Non-Homemade มีดังนี้
1.1 ประเภทของอาหาร และจุดประสงค์ในการส่ง
• ห้ามส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น ไส้กรอก แฮม หรือ หมูแผ่น เป็นต้น
• ห้ามส่งอาหารสด ผักผลไม้ที่ยังไม่ได้ถูกแปรรูปให้เป็นอาหารแห้งหรืออาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
• ห้ามส่งอาหารหรือสินค้าที่จำเป็นต้องคงสภาพอุณหภูมิหรือเก็บความเย็นเพราะการขนส่งจะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของสินค้าได้
• ถ้าจะส่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทนมวัวหรือนมแพะที่เป็นนมผงหรือนมสดไปอเมริกา จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้า สหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า USDA Import Veterinary Permit
• ปลาหรืออาหารทะเลแปรรูป เช่น ปลากระป๋อง หรือขนมปลาเส้น สามารถส่งไปสหรัฐอเมริกาได้ ต้องผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารและการแปรรูปที่ถูกต้อง โดยจะต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นไปได้ต่อการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาสามารถขนส่งออกจากไทยได้โดยต้องส่งรวมกับของชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากปลาในปริมาณ 20-30% ของพัสดุทั้งหมด
• ถ้าต้องการขนส่งผลิตภัณฑ์ปลาอย่างเดียว โดยไม่มีการส่งของชนิดอื่น สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสัตว์น้ำ ซึ่งต้องมีใบอนุญาตและใบรับรองของกรมประมง และต้องเดินพิธีการขาออก (ดังนั้นแนะนำว่าควรส่งร่วมกับของชนิดอื่นจะดีกว่า)
1.2. ห่อหรือบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การส่งอาหารไปยังต่างประเทศนั้น แม้จะเป็นอาหารแห้งหรืออาหารแปรรูปก็ต้องได้รับการบรรจุหีบห่อที่แน่นหนาโดยการซีลหรือปิดสุญญากาศ (Vacuum Packaging) เพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือซึมเลอะของอาหารในระหว่างการขนส่ง
1.3. ฉลากอาหาร (Label): ต้องมีฉลากที่มีข้อมูลสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้
• ชื่อสินค้า (Product name)
• ชื่อ และ ที่อยู่ผู้ผลิต (Manufacturer name & address)
• ส่วนผสม (Ingredients)
• น้ำหนัก (Net Weight)
• วันหมดอายุ (Expiry Date)
• ประเทศที่ผลิต (Country of Origin)
Tips: เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำในการส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกา แนะนำให้สแกนฉลากอาหาร และปรินท์แนบไปกับ invoice เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบของศุลกากรขาเข้าของฝั่งอเมริกา
1.4. รายละเอียดและข้อจำกัดในการส่งออกอาหารแปรรูปแบบ Non-Homemade
• ไม่ต้องใช้ใบอนุญาตส่งออก
• ไม่ต้องดำเนินพิธีการขาออก
• ปริมาณในการส่งออกอาหารแปรรูปแบบ Non-Homemade
o การส่งไปให้บุคคล (ไม่ใช่เพื่อขายให้กับบริษัท) ให้จัดส่งใน “ปริมาณที่เหมาะสม” หรือปริมาณเหมาะสำหรับการบริโภคต่อคน (ตามดุลพินิจของศุลกากร)
o การส่งออกโดยระบุว่าส่งไปเพื่อการค้าขาย สามารถส่งได้ไม่จำกัดจำนวน
• การระบุมูลค่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ จะต้องระบุมูลค่าตามจริง โดยหากมีมูลค่าเกิน $800 จะต้องทำ Prior Notice ก่อนส่งสินค้า
2. การขนส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูป แบบ Homemade product ไปสหรัฐอเมริกา
Homemade product คืออาหารที่ผลิตหรือทำเองจากที่บ้าน หรือในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ OTOP หรือขนมที่ทำเองจากที่บ้าน เช่น คุกกี้ ขนมปังกรอบ เป็นต้น
2.1. ประเภทของอาหารและจุดประสงค์ในการส่งอาหาร
• การส่งออกอาหารแห้งหรืออาหารแปรรูปไปอเมริกา จะต้องเป็นการส่งออกเพื่อบุคคลถึงบุคคลเท่านั้น ห้ามเป็นการส่งออกเพื่อนำไปทำการค้าโดยเด็ดขาด
• ปริมาณที่ส่งออกต้องถูกจำกัดปริมาณ เพื่อความเป็นไปได้และเหมาะสมในการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น
• สามารถส่งปลา หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปลา และสัตว์ทะเลไปอเมริกาได้ แต่ต้องผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารและการแปรรูปที่ถูกต้อง โดยจะต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและเป็นไปได้ต่อการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาสามารถขนส่งออกจากไทยได้โดยต้องส่งรวมกับของชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากปลาในปริมาณ 20-30% ของพัสดุทั้งหมด
• หากต้องการขนส่งผลิตภัณฑ์ปลาอย่างเดียว โดยไม่มีการส่งของชนิดอื่น สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสัตว์น้ำ ซึ่งต้องมีใบอนุญาตและใบรับรองของกรมประมง และต้องเดินพิธีการขาออก (ดังนั้นแนะนำว่าควรส่งร่วมกับของชนิดอื่นจะดีกว่า)
• การส่งนมวัวหรือนมแพะที่เป็นนมผงต้องมีใบอนุญาตเหมือน Non-Homemade เช่นกัน
2.2 ห่อหรือบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การห่อหรือบรรจุภัณฑ์ จะต้องได้รับการหีบห่อที่แน่นหนา โดยการซีล หรือปิดสุญญากาศ (Vacuum Packaging) เสมือนกับการส่งผลิตภัณฑ์ Non-Homemade
2.3. ฉลากอาหาร (Label): ต้องมีฉลากที่มีข้อมูลสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้
• ป้ายชื่อสินค้า (Product name)
• ระบุว่าเป็น Homemade บน Invoice
2.4. รายละเอียดและข้อจำกัดในการส่งออกอาหารแปรรูปแบบ Homemade
• ไม่ต้องใช้ใบอนุญาตส่งออก
• ไม่ต้องเดินพิธีการขาออก
• ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศุลกากร
• ไม่จำกัดมูลค่าในการส่ง แต่หากเกิน $800 ต้องทำ Prior Notice ก่อนการส่งสินค้า
เพื่อป้องกันความล่าช้าในการส่งอาหารแห้งหรืออาหารแปรรูปไปอเมริกา ผู้ส่งต้องเตรียมเอกสารหรือข้อมูลในการจัดส่งที่ต้องใช้ เพราะอเมริกามีการควบคุมการนำเข้าพัสดุประเภทอาหารอย่างเข้มงวด อย่าลืมเลือกผู้ให้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่เป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์อย่าง DHL Express ที่ให้บริการส่งของไปต่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่ครอบคลุม 220 ประเทศทั่วโลก ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแลท่านหรือสอบถาม รับคำแนะนำในการจัดส่งเอกสารและพัสดุไปทั่วโลกผ่าน Live Chat หรือโทร 02-345-5000
อัพเดทข้อมูลล่าสุด 27 มกราคม 2564
ทะเลดองอเมริกา วิธีกินแบบนิพพาน ร้านเด็ดในแอลเอ #มอสลา |Soy Sauce Marinated Seafood in KTown,LA 2021
มอสลาEats ร้านอาหารอเมริกา ร้านอาหารLA
อเมริกาที่นี่ก็มี ปูดองซีอิ้วเกาหลีแบบต้นฉบับคนเกาหลี พร้อมวิธีกินให้ฟินนนนหลายแบบ
ร้านในย่าน KoreaTown ในเมือง Los Angeles รัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกา
Crab House 923 S Vermont Ave,LACA 90006
FB Page อร่อยบอกต่อแอลเอ
ขอบคุณทุกคนที่กด Like กดติดตาม Subscribed ให้มอร์สด้วยนะคะ 🙂
Thank you for supporting me
📍ช่องทางติดตาม FOLLOW ME ON SOCIAL MEDIA
Facebook Page ➪https://www.facebook.com/Mossala101/
Instagram ➪ https://instagram.com/mossala101
Contact Email ➪ [email protected]
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
โทรออกได้ ฟรีทุกประเทศ ใช้ได้จริง 101%
เราจะบอกให้คุณรู้ว่าคุณสามารถที่จะ ใช้โทรศัพท์มือถือโทรออก ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือจะเป็นนอกประเทศก็ได้แบบไม่เสียเงินเลย อีกอย่างผู้ที่รับสายไม่จำเป็นต้องมีเน็ตด้วย ก็สามารถที่จะรับสายได้.
โทรออกฟรี โทรออกฟรีทุกประเทศ โทรฟรีในประเทศไทย โทรออกไม่เสียตัง
อิสราเอล Ep.0 ประเทศที่ไปยากที่สุดในชีวิต!!! | Nn.lardapha
กดติดตาม Naan Lardapha (น้องนี) ได้ที่นี่
YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCHLFl3o1iPztxqAlDB0Cieg
Facebook: https://www.facebook.com/nn.lardapha/
Instagram: https://www.instagram.com/nn.lardapha/?hl=en
Nnlardapha เตรียมตัวไปอิสราเอล น้องนี น้องแนน แนนลดา Naan
ขั้นตอน และเงื่อนไข การเดินทางเข้าไทย ธันวาคม 64 สำหรับคนไทย และชาวต่างชาติ | GoNoGuide Reopen
อ้างอิง
https://hague.thaiembassy.org/th/content/goingtothailand1nov21?cate=5f4cc41880d7525ade115872
https://www.facebook.com/ThaiConsular/posts/2371253719678429
https://www.facebook.com/ThaiMFA/posts/6851660974873852
[email protected]
[email protected]
https://www.facebook.com/RoyalThaiEmbassySeoul/posts/278269614347688
วิธีลงทะเบียน Thailand Pass อย่างละเอียด อัพเดท ธค 64
https://youtu.be/ohECd6JSBCI
วิธีซื้อประกันสุขภาพ เข้าไทย วงเงิน 50,000 USD
https://youtu.be/l3nJiIdzYHU
สมัครเป็นสมาชิกพิเศษ สนับสนุน GoNoGuide
https://www.youtube.com/channel/UCsY2aYmPTj7mpJXpZ1FU2MQ/join
🔼🔼🔼🔼🔼🔼🔼
ผู้สนับสนุนค่าขนม ขึ้นไป
มีตราอยู่หลังชื่อ เมื่อมีการคอมเม้นท์
ใส่อิโมจิ \”อ๊อบ เวอร์ชั่นหล่อกว่าตัวจริง\” ได้
◾◾◾◾◾◾◾
ผู้สนับสนุนค่าเดินทาง ขึ้นไป
เหมือนค่าขนม
เพิ่มเติมคือ ได้ดูวิดีโอสั้นที่ไม่ได้ตัดต่อ (Footage) และรูปภาพ อัพเดทแบบล่าสุด ลงในยูทูปคอมมูนิตี้
◾◾◾◾◾◾◾
ผู้สนับสนุนค่าเข้าสถานที่ ขึ้นไป
เหมือนค่าเดินทาง
เพิ่มเติมคือ มีการโพสต์ชื่อช่องของผู้สนับสนุน ลงในยูทูปคอมมูนิตี้
◾◾◾◾◾◾◾
ผู้สนับสนุนค่าที่พัก
เหมือนทุกกลุ่ม
เพิ่มเติมคือ มีการใส่ชื่อช่องของผู้สนับสนุน ลงในท้ายวิดีโอรีวิวเที่ยว
◾◾◾◾◾◾◾
ปล. ทุกอย่างเหมือนเดิมนะครับ ไม่ได้สมัครก็ดูได้เหมือนเดิม แค่กดเข้ามาชม จิ้มไลค์ ฝากคอมเม้นท์ ก็ถือว่าสนับสนุนแล้ว
➖➖➖
🚩สนับสนุน GoNoGuide https://www.gonoguide.com/support/
➖➖➖
🚩รวมลิงค์วิธีขอวีซ่า https://www.gonoguide.com/visa/
➖➖➖
🚩ข้อมูลการเดินทาง ช่วงโควิด https://www.gonoguide.com/reopen/
➖➖➖
ติดตาม GoNoGuide
💗Facebook GoNoGuide
https://www.facebook.com/gonoguide/
💗Website GoNoGuide
http://www.gonoguide.com/
💗Instagram GoNoGuide
https://www.instagram.com/gonoguide/
💗Youtube GoNoGuide
http://bit.ly/subsyt
💗Youtube GoNoGuide Trips
http://bit.ly/2N9xWJZ
💗GoNoGuide แฟนฝรั่ง กลุ่มเฉพาะแฟนต่างชาติ เยี่ยมเยียน
https://bit.ly/2OPxocR
💗Twitter @GoNoGuide
https://twitter.com/GoNoGuide
💗TikTok @GoNoGuide
https://www.tiktok.com/@gonoguide
GoNoGuide GoNoGuideReopen
วิธีหาเบอร์โทรศัพท์ในอเมริกาคะ#1
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆGame
ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ โทร ไป อเมริกา